ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา 1627 พอร์ซเลน

Now you are reading ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา Chapter 1627 พอร์ซเลน at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

เมื่อได้ยินราคา ฉินสือโอวก็ผิดหวังอย่างรุนแรง เขาพูดออกมาว่า “แค่หนึ่งล้านดอลลาร์เองเหรอ? ฉันคิดว่ามันจะทำราคาได้ประมาณสิบยี่สิบล้านเสียอีก”

บิลลี่และเบลคเบิกตากว้าง พวกเขาถามออกมาอย่างพร้อมเพรียงกันว่า “นายคิดว่าเงินดอลลาร์คืออะไรกัน? เงินเยน เงินวอน หรือเงินบาทกัน?!”

ฉินสือโอวพูดออกมาว่า “อย่ามองฉันด้วยสายตาน่ารังเกียจพวกนั้นสิ พวกนายรู้จักเครื่องลายครามราชวงศ์หยวนไหม? นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่สามารถขายได้ในราคาห้าหกสิบล้านดอลลาร์หรอกเหรอ? นอกจากนี้ยังมีเตาเผาของราชวงศ์หมิงพวกนั้นอีก ราคาของมันสูงมากเลยนะ”

เบลคส่ายหน้า แล้วพูดออกมาว่า “นายไม่เข้าใจกฎของการสะสมเครื่องปั้นดินเผา ฉันรู้จักเครื่องปั้นพวกนั้นที่นายพูด เครื่องลายครามราชวงศ์หยวนแพงแน่นอน มันเป็นจักรพรรดิแห่งเครื่องเคลือบโบราณ แต่เตาเผาเหล่านั้น ถือว่าเป็นเพียงชนชั้นขุนนางของเครื่องปั้นเท่านั้น อะลา พอเซลาน่ากับพวกมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน เพราะว่าเครื่องปั้นพวกนี้เป็นเพียงของเลียนแบบจากประเทศจีนเท่านั้น”

บิลลี่ตบบ่าฉินสือโอว เขาขยิบตาให้ฉินสือโอวแล้วพูดว่า “ความภาคภูมิใจในชาติกำเนิดของตัวเองได้เพิ่มขึ้นแล้ว”

เบลคยังคงแนะนำต่อไป ครั้งนี้เขาพยายามพูดให้สั้นและกระชับ จากเรื่องอะลา พอเซลาน่า และเครื่องลายครามยุโรปสมัยใหม่อื่นๆ จนตอนนี้มาถึงประวัติศาสตร์ของเครื่องปั้นดินเผาของอเมริกาแล้วเหรอ? ขอโทษที ชาวอินเดียแดงในอเมริกาสามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้ แต่สิ่งนี้ได้ถูกศิลปะของประเทศจีนกลืนกินไปนับพันปี ส่วนในยุโรปก็ถูกกลืนกินไปหลายศตวรรษ ดังนั้นในการพูดถึงประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้ จึงไม่มีพื้นที่ให้อเมริกา

ครั้งแรกมันเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมัน มีการนำวิธีการเครื่องปั้นดินเผาเคลือบตะกั่วจากอียิปต์มาใช้ในอิตาลี และมีการผลิตไปเรื่อยๆ จนมาถึงยุคที่ใช้ดีบุกเคลือบงานปั้นดินเผา แต่เทคนิคการเคลือบดีบุกที่เครื่องปั้นดินเผานี้ ก็ได้เผยแพร่ไปยังอิตาลีโดยผ่านมายังตะวันออกกลางโดยผ่านเกาะมาจอร์กาที่อยู่ทางใต้ของสเปน การเคลือบเครื่องปั้นด้วยดีบุกเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่นั้นมา ศิลปะงานเซรามิกที่วิจิตรงดงามก็เริ่มเข้าสู่สังคมชนชั้นสูงของยุโรป

ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา วิธีการเคลือบเครื่องปั้นดินเผาโดยดีบุกแพร่กระจายจากอิตาลีออกไปอย่างรวดเร็ว พวกมันเริ่มต้นที่อิตาลี และไปถึงฝรั่งเศสเป็นที่แรก จากนั้นก็มาถึงเยอรมัน เนเธอแลนด์ อังกฤษและกลุ่มประเทศนอร์ดิก ลักษณะเด่นของเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบอิตาลีคือ การตบแต่งบนเครื่องปั้นใช้สีที่หลากหลาย ต่อมาหลังจากที่มีการนำเข้าสีกลอสมาจากสเปน ของส่วนใหญ่ก็จะใช้สีเงา ทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีที่สดใส เช่นสีทอง สีแดง สีน้ำเงินและอื่นๆ

เมื่อพูดถึงตรงนี้ เบลคก็ชี้ไปยังเครื่องปั้นดินเผาที่อยู่ด้านใน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสีของเครื่องปั้นเหล่านั้นเป็นแบบที่เขาพูด

การพัฒนายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เครื่องปั้นดินเผาในยุคยุโรปกลางเริ่มพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุด พอมาถึงจุดนี้ในช่วงศตวรรษที่สิบหกที่เวนิส ประเทศติดทะเลแห่งนี้เป็นผู้นำในการใช้ช่องทางทะเลอันสะดวกสบายในการติดต่อกับประเทศจีน ทำให้พวกเขาได้รับเทคนิคในการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกขั้นสูงมา

เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในเวนิสเพียงแต่จะได้รับเทคนิคการผลิตมาจากประเทศจีนเท่านั้น แต่พวกเขายังสามารถเลียนแบบลวดลายครามของราชวงศ์หมิงได้อีกด้วย และสร้างรูปแบบใหม่ด้วยสีสันแบบตะวันตก นี่คือที่มาของ อะลา พอเซลาน่า ในชื่อเรียกอะลา พอเซลาน่านั้นยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง นั่นก็คืออะลา พอเซลาน่าแบบดั้งเดิม

เบลคอธิบายแล้วก่อนหน้านี้ อะลา พอเซลาน่าสามารถแปลได้ว่าการจำลองเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบดีบุก คำนี้มีความหมายสำคัญอยู่ที่สองคำ นั่นคือ จำลอง และสอง เครื่องปั้นดินเผา นอกจากเวนิสแล้ว ประเทศยุโรปก็ยังได้เรียนรู้งานฝีมือในการผลิตเครื่องปั้นดินเผามาจากจีน ทำให้เกิดเครื่องปั้นดินเผาที่มีการจำลองมาจากประเทศจีนมากมาย

เช่นเยอรมันในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดปีหกสิบ บริษัทฮันหลัวเริ่มทำการเปิดโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกทั่วแฟรงเฟิร์ตและปริมณฑล พวกเขาใช้เทคนิคในการปั้นที่ได้มาจากทางตะวันตก แต่ลวดลายตบแต่งที่ใช้เป็นแบบจีน นี่ก็เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองอีกแบบหนึ่ง

ก่อนหน้าในช่วงศตวรรษที่สิบหกปียี่สิบ ช่างทำหม้ออิตาลีบางคนได้ย้ายไปยังเนเธอแลนด์ ถือว่าเป็นการเริ่มการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกในเนเธอแลนด์ นี่ก็ถือว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองเหมือนกัน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา บริษัทดัตช์อีสต์อินเดียก็ได้นำเข้าเครื่องลายครามจากประเทศจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้การตบแต่งเครื่องปั้นดินเผาของที่นี่เป็นสีน้ำเงินและขาวตามแบบฉบับของประเทศจีน ทำให้การตบแต่งเครื่องปั้นดินเผาแบบชาวอิตาลีหายไป และเป็นการเข้าสู่ยุคเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองโดยสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในประเทศอังกฤษอีกด้วย ในช่วงศตวรรษที่สิบหกปีห้าสิบ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกในประเทศอังกฤษได้รับการถ่ายทอดมาจากเนเธอแลนด์ ทำให้เป็นการก่อกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาเคลือบตะกั่ว ในส่วนของการตบแต่งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายครามของประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องลายครามสีน้ำเงินและขาวที่มาจากราชวงศ์หมิงของประเทศจีน จนแทบจะดูเหมือนเป็นการเลียนแบบโดยสิ้นเชิง

โดยไม่ต้องสงสัย เครื่องลายครามที่ผลิตได้ในยุคนั้นก็ถูกเรียกว่าอะลา พอเซลาน่า แต่เพื่อที่จะแยกออกจากกัน ในแต่ละประเทศก็มีชื่อเรียกพอร์ซเลนพวกนี้แตกต่างกันออกไป เช่นในประเทศเนเธอแลนด์ที่มีศูนย์รวมเครื่องปั้นดินเผาอยู่ที่เมืองฟอร์ด ทำให้เครื่องลายครามที่นั่นถูกเรียกว่า เครื่องลายครามฟอร์ด การผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเยอรมันมักจะผลิตขึ้นที่ภูมิภาคนูเรเบิร์ก จึงถูกเรียกว่า เครื่องลายครามนูเรเบิร์ก ชื่อของอะลา พอเซลาน่าจึงค่อยๆ หายไปจากพื้นที่เหล่านี้ เนื่องจากคำที่บอกว่าจำลอง ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ได้เป็นชื่อที่น่าฟังนัก

มีเพียงเวนิสเท่านั้นที่ยังคงให้เกียรติสิ่งนี้มาโดยตลอด พวกเขาผสมผสานความเรียบง่ายและสง่างามของเครื่องลายครามแบบตะวันตกเข้ากับความงดงามและสูงส่งแบบยุโรป เครื่องลายครามพวกนี้ส่งออกไปยังฝรั่งเศสเป็นพิเศษ ก่อนหน้าศตวรรษที่สิบหก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่ใช้เทคนิคเคลือบเครื่องปั้นดินเผาด้วยตะกั่วอย่างแพร่หลาย เมื่ออะลา พอเซลาน่าได้เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส พวกมันก็ได้รับการต้อนรับสู่ชนชั้นสูงทันที

ในช่วงศตวรรษที่สิบแปดถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอะลา พอเซลาน่าอย่างแท้จริง เพื่อที่จะหาเงินมาใช้จ่ายในช่วงสงครามสืบราชสมบัติของสเปน ในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่จึงได้มีคำสั่งให้นำเครื่องเงินทั้งหมดในพระราชวังมาหลอมละลาย หลังจากนั้น เหล่าขุนนางชนชั้นสูงในฝรั่งเศสต่างก็พากันมาใช้เครื่องเคลือบ อะลา พอเซลาน่าจึงเป็นที่นิยมในยุโรป จำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพกลับลดลง

โชคดีที่พอร์ซเลนทั้งบางและบอบบาง พวกมันเก็บรักษายาก เมื่อมาถึงช่วงที่ยุโรปเกิดสงครามบ่อยครั้ง เครื่องครามอะลา พอเซลาน่าก็ถูกทำลายในช่วงสงครามไปจนหมด

และหลังจากเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ในยุโรปพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้งานฝีมือทางด้านเครื่องปั้นก็ได้รับการพัฒนาด้วยเช่นกัน พอร์ซเลนที่ถูกผลิตในช่วงนั้นสวยงามขึ้นและใช้งานได้จริงมากขึ้น หลังจากที่นักปั้นเครื่องปั้นดินเผาชาวอังกฤษ เวจวูดได้ทำเครื่องปั้นดินเผาสีเบจออกมา เขาก็ได้รับการชื่นชมจากขุนนางชนชั้นสูงจากบริเตนและประเทศอื่นๆ ตั้งแต่นั้นมาเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกก็ค่อยๆ หายไป อะลา พอเซลาน่าก็ยิ่งมีคนใช้น้อยลงเรื่อยๆ การผลิตของพวกมันค่อยๆ หายไป แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อได้ยินคำอธิบายของเบลค ฉินสือโอวก็ถามออกมาว่า “งั้นเครื่องลายครามพวกนี้ เป็นอะลา พอเซลาน่าของประเทศไหนกันล่ะ?”

เบลคยิ้มและตอบกลับว่า “ตอนนี้หากพูดถึงอะลา พอเซลาน่า ก็หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบแบบจำลอง ในตอนนั้นเครื่องปั้นดินเผาในประเทศอื่นๆ มีชื่อเรียกต่างกัน เครื่องปั้นดินเผาพวกนี้ไม่รู้ว่ามาจากเวนิสหรือว่ามาจากฝรั่งเศส ถ้าหากว่าต้องการรู้อย่างละเอียดว่าพวกมันมาจากที่ไหน นายต้องล้างไขมันวาฬออกให้หมดแล้วดูมันอย่างละเอียด”

………………………

Related

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด

ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา 1627 พอร์ซเลน

Now you are reading ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา Chapter 1627 พอร์ซเลน at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

เมื่อได้ยินราคา ฉินสือโอวก็ผิดหวังอย่างรุนแรง เขาพูดออกมาว่า “แค่หนึ่งล้านดอลลาร์เองเหรอ? ฉันคิดว่ามันจะทำราคาได้ประมาณสิบยี่สิบล้านเสียอีก”

บิลลี่และเบลคเบิกตากว้าง พวกเขาถามออกมาอย่างพร้อมเพรียงกันว่า “นายคิดว่าเงินดอลลาร์คืออะไรกัน? เงินเยน เงินวอน หรือเงินบาทกัน?!”

ฉินสือโอวพูดออกมาว่า “อย่ามองฉันด้วยสายตาน่ารังเกียจพวกนั้นสิ พวกนายรู้จักเครื่องลายครามราชวงศ์หยวนไหม? นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่สามารถขายได้ในราคาห้าหกสิบล้านดอลลาร์หรอกเหรอ? นอกจากนี้ยังมีเตาเผาของราชวงศ์หมิงพวกนั้นอีก ราคาของมันสูงมากเลยนะ”

เบลคส่ายหน้า แล้วพูดออกมาว่า “นายไม่เข้าใจกฎของการสะสมเครื่องปั้นดินเผา ฉันรู้จักเครื่องปั้นพวกนั้นที่นายพูด เครื่องลายครามราชวงศ์หยวนแพงแน่นอน มันเป็นจักรพรรดิแห่งเครื่องเคลือบโบราณ แต่เตาเผาเหล่านั้น ถือว่าเป็นเพียงชนชั้นขุนนางของเครื่องปั้นเท่านั้น อะลา พอเซลาน่ากับพวกมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน เพราะว่าเครื่องปั้นพวกนี้เป็นเพียงของเลียนแบบจากประเทศจีนเท่านั้น”

บิลลี่ตบบ่าฉินสือโอว เขาขยิบตาให้ฉินสือโอวแล้วพูดว่า “ความภาคภูมิใจในชาติกำเนิดของตัวเองได้เพิ่มขึ้นแล้ว”

เบลคยังคงแนะนำต่อไป ครั้งนี้เขาพยายามพูดให้สั้นและกระชับ จากเรื่องอะลา พอเซลาน่า และเครื่องลายครามยุโรปสมัยใหม่อื่นๆ จนตอนนี้มาถึงประวัติศาสตร์ของเครื่องปั้นดินเผาของอเมริกาแล้วเหรอ? ขอโทษที ชาวอินเดียแดงในอเมริกาสามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้ แต่สิ่งนี้ได้ถูกศิลปะของประเทศจีนกลืนกินไปนับพันปี ส่วนในยุโรปก็ถูกกลืนกินไปหลายศตวรรษ ดังนั้นในการพูดถึงประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้ จึงไม่มีพื้นที่ให้อเมริกา

ครั้งแรกมันเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมัน มีการนำวิธีการเครื่องปั้นดินเผาเคลือบตะกั่วจากอียิปต์มาใช้ในอิตาลี และมีการผลิตไปเรื่อยๆ จนมาถึงยุคที่ใช้ดีบุกเคลือบงานปั้นดินเผา แต่เทคนิคการเคลือบดีบุกที่เครื่องปั้นดินเผานี้ ก็ได้เผยแพร่ไปยังอิตาลีโดยผ่านมายังตะวันออกกลางโดยผ่านเกาะมาจอร์กาที่อยู่ทางใต้ของสเปน การเคลือบเครื่องปั้นด้วยดีบุกเป็นการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ ตั้งแต่นั้นมา ศิลปะงานเซรามิกที่วิจิตรงดงามก็เริ่มเข้าสู่สังคมชนชั้นสูงของยุโรป

ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา วิธีการเคลือบเครื่องปั้นดินเผาโดยดีบุกแพร่กระจายจากอิตาลีออกไปอย่างรวดเร็ว พวกมันเริ่มต้นที่อิตาลี และไปถึงฝรั่งเศสเป็นที่แรก จากนั้นก็มาถึงเยอรมัน เนเธอแลนด์ อังกฤษและกลุ่มประเทศนอร์ดิก ลักษณะเด่นของเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบอิตาลีคือ การตบแต่งบนเครื่องปั้นใช้สีที่หลากหลาย ต่อมาหลังจากที่มีการนำเข้าสีกลอสมาจากสเปน ของส่วนใหญ่ก็จะใช้สีเงา ทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีที่สดใส เช่นสีทอง สีแดง สีน้ำเงินและอื่นๆ

เมื่อพูดถึงตรงนี้ เบลคก็ชี้ไปยังเครื่องปั้นดินเผาที่อยู่ด้านใน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสีของเครื่องปั้นเหล่านั้นเป็นแบบที่เขาพูด

การพัฒนายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เครื่องปั้นดินเผาในยุคยุโรปกลางเริ่มพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุด พอมาถึงจุดนี้ในช่วงศตวรรษที่สิบหกที่เวนิส ประเทศติดทะเลแห่งนี้เป็นผู้นำในการใช้ช่องทางทะเลอันสะดวกสบายในการติดต่อกับประเทศจีน ทำให้พวกเขาได้รับเทคนิคในการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกขั้นสูงมา

เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในเวนิสเพียงแต่จะได้รับเทคนิคการผลิตมาจากประเทศจีนเท่านั้น แต่พวกเขายังสามารถเลียนแบบลวดลายครามของราชวงศ์หมิงได้อีกด้วย และสร้างรูปแบบใหม่ด้วยสีสันแบบตะวันตก นี่คือที่มาของ อะลา พอเซลาน่า ในชื่อเรียกอะลา พอเซลาน่านั้นยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง นั่นก็คืออะลา พอเซลาน่าแบบดั้งเดิม

เบลคอธิบายแล้วก่อนหน้านี้ อะลา พอเซลาน่าสามารถแปลได้ว่าการจำลองเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบดีบุก คำนี้มีความหมายสำคัญอยู่ที่สองคำ นั่นคือ จำลอง และสอง เครื่องปั้นดินเผา นอกจากเวนิสแล้ว ประเทศยุโรปก็ยังได้เรียนรู้งานฝีมือในการผลิตเครื่องปั้นดินเผามาจากจีน ทำให้เกิดเครื่องปั้นดินเผาที่มีการจำลองมาจากประเทศจีนมากมาย

เช่นเยอรมันในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดปีหกสิบ บริษัทฮันหลัวเริ่มทำการเปิดโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกทั่วแฟรงเฟิร์ตและปริมณฑล พวกเขาใช้เทคนิคในการปั้นที่ได้มาจากทางตะวันตก แต่ลวดลายตบแต่งที่ใช้เป็นแบบจีน นี่ก็เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองอีกแบบหนึ่ง

ก่อนหน้าในช่วงศตวรรษที่สิบหกปียี่สิบ ช่างทำหม้ออิตาลีบางคนได้ย้ายไปยังเนเธอแลนด์ ถือว่าเป็นการเริ่มการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกในเนเธอแลนด์ นี่ก็ถือว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองเหมือนกัน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา บริษัทดัตช์อีสต์อินเดียก็ได้นำเข้าเครื่องลายครามจากประเทศจีนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้การตบแต่งเครื่องปั้นดินเผาของที่นี่เป็นสีน้ำเงินและขาวตามแบบฉบับของประเทศจีน ทำให้การตบแต่งเครื่องปั้นดินเผาแบบชาวอิตาลีหายไป และเป็นการเข้าสู่ยุคเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกแบบจำลองโดยสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาในประเทศอังกฤษอีกด้วย ในช่วงศตวรรษที่สิบหกปีห้าสิบ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกในประเทศอังกฤษได้รับการถ่ายทอดมาจากเนเธอแลนด์ ทำให้เป็นการก่อกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาเคลือบตะกั่ว ในส่วนของการตบแต่งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องลายครามของประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องลายครามสีน้ำเงินและขาวที่มาจากราชวงศ์หมิงของประเทศจีน จนแทบจะดูเหมือนเป็นการเลียนแบบโดยสิ้นเชิง

โดยไม่ต้องสงสัย เครื่องลายครามที่ผลิตได้ในยุคนั้นก็ถูกเรียกว่าอะลา พอเซลาน่า แต่เพื่อที่จะแยกออกจากกัน ในแต่ละประเทศก็มีชื่อเรียกพอร์ซเลนพวกนี้แตกต่างกันออกไป เช่นในประเทศเนเธอแลนด์ที่มีศูนย์รวมเครื่องปั้นดินเผาอยู่ที่เมืองฟอร์ด ทำให้เครื่องลายครามที่นั่นถูกเรียกว่า เครื่องลายครามฟอร์ด การผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเยอรมันมักจะผลิตขึ้นที่ภูมิภาคนูเรเบิร์ก จึงถูกเรียกว่า เครื่องลายครามนูเรเบิร์ก ชื่อของอะลา พอเซลาน่าจึงค่อยๆ หายไปจากพื้นที่เหล่านี้ เนื่องจากคำที่บอกว่าจำลอง ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ได้เป็นชื่อที่น่าฟังนัก

มีเพียงเวนิสเท่านั้นที่ยังคงให้เกียรติสิ่งนี้มาโดยตลอด พวกเขาผสมผสานความเรียบง่ายและสง่างามของเครื่องลายครามแบบตะวันตกเข้ากับความงดงามและสูงส่งแบบยุโรป เครื่องลายครามพวกนี้ส่งออกไปยังฝรั่งเศสเป็นพิเศษ ก่อนหน้าศตวรรษที่สิบหก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่ใช้เทคนิคเคลือบเครื่องปั้นดินเผาด้วยตะกั่วอย่างแพร่หลาย เมื่ออะลา พอเซลาน่าได้เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส พวกมันก็ได้รับการต้อนรับสู่ชนชั้นสูงทันที

ในช่วงศตวรรษที่สิบแปดถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอะลา พอเซลาน่าอย่างแท้จริง เพื่อที่จะหาเงินมาใช้จ่ายในช่วงสงครามสืบราชสมบัติของสเปน ในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่จึงได้มีคำสั่งให้นำเครื่องเงินทั้งหมดในพระราชวังมาหลอมละลาย หลังจากนั้น เหล่าขุนนางชนชั้นสูงในฝรั่งเศสต่างก็พากันมาใช้เครื่องเคลือบ อะลา พอเซลาน่าจึงเป็นที่นิยมในยุโรป จำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพกลับลดลง

โชคดีที่พอร์ซเลนทั้งบางและบอบบาง พวกมันเก็บรักษายาก เมื่อมาถึงช่วงที่ยุโรปเกิดสงครามบ่อยครั้ง เครื่องครามอะลา พอเซลาน่าก็ถูกทำลายในช่วงสงครามไปจนหมด

และหลังจากเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ในยุโรปพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้งานฝีมือทางด้านเครื่องปั้นก็ได้รับการพัฒนาด้วยเช่นกัน พอร์ซเลนที่ถูกผลิตในช่วงนั้นสวยงามขึ้นและใช้งานได้จริงมากขึ้น หลังจากที่นักปั้นเครื่องปั้นดินเผาชาวอังกฤษ เวจวูดได้ทำเครื่องปั้นดินเผาสีเบจออกมา เขาก็ได้รับการชื่นชมจากขุนนางชนชั้นสูงจากบริเตนและประเทศอื่นๆ ตั้งแต่นั้นมาเครื่องปั้นดินเผาเคลือบดีบุกก็ค่อยๆ หายไป อะลา พอเซลาน่าก็ยิ่งมีคนใช้น้อยลงเรื่อยๆ การผลิตของพวกมันค่อยๆ หายไป แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อได้ยินคำอธิบายของเบลค ฉินสือโอวก็ถามออกมาว่า “งั้นเครื่องลายครามพวกนี้ เป็นอะลา พอเซลาน่าของประเทศไหนกันล่ะ?”

เบลคยิ้มและตอบกลับว่า “ตอนนี้หากพูดถึงอะลา พอเซลาน่า ก็หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาเคลือบแบบจำลอง ในตอนนั้นเครื่องปั้นดินเผาในประเทศอื่นๆ มีชื่อเรียกต่างกัน เครื่องปั้นดินเผาพวกนี้ไม่รู้ว่ามาจากเวนิสหรือว่ามาจากฝรั่งเศส ถ้าหากว่าต้องการรู้อย่างละเอียดว่าพวกมันมาจากที่ไหน นายต้องล้างไขมันวาฬออกให้หมดแล้วดูมันอย่างละเอียด”

………………………

Related

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด

×

Pengaturan Membaca

Background :

Size :

A-16A+