บรรลุอรหันต์กับระบบพุทธองค์ 329 ฉลองเทศกาลแล้ว

Now you are reading บรรลุอรหันต์กับระบบพุทธองค์ Chapter 329 ฉลองเทศกาลแล้ว at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

จากนั้น​หยาง​หวา​ หยาง​ผิง​ หวัง​โอ้ว​กุ้ย​และ​ถาน​จวี่กั๋ว​พา​กัน​วิ่ง​ออกมา​ ชาย​หญิง​คนแก่​เด็ก​ทั้ง​หมู่บ้าน​ต่าง​ออกมา​ยืน​ข้างนอก​ แหงนหน้า​มอง​ฟ้า ถึงจะดีใจ​ ทว่า​แต่ละคน​ก็​ยัง​ควบคุม​เอาไว้​เล็กน้อย​ ภาค​ตะวันออกเฉียงเหนือ​มีการเปลี่ยนแปลง​อากาศ​เหมือนกับ​นิสัย​คน​ภาค​ตะวันออกเฉียงเหนือ​ พายุ​ฟ้าผ่า​มาเร็ว​ แต่​ไม่แน่​ว่า​ฝน​จะตก​ อาจจะ​เค่อ​ก่อนหน้า​มีเมฆดำ​คลุม​ฟ้า แต่​เค่อ​ต่อมา​เมฆหาย​เห็น​ดวงตะวัน​ ดังนั้น​ก่อน​หยด​ฝนตก​ลงมา​จึงไม่มีใคร​มั่นใจ​ว่า​ฝน​จะตก​หรือไม่​

บน​ภูเขา​เอก​ดรรชนี​ ฟางเจิ้งพา​หมาป่า​เดียวดาย​ ลิง​และ​กระรอก​ยืน​แหงนหน้า​มอง​ฟ้าอยู่​ใน​ลานวัด​ ตอนนี้​เสียง​เด็กแดง​ดัง​ข้าง​หู​ฟางเจิ้ง “อาจารย์​พายุ​มาแล้ว​ รวม​เมฆแล้ว​ ฝนตก​ตอนนี้​เลย​หรือไม่​?”

ฟางเจิ้งประนม​สอง​มือ​กล่าว​ปลงอนิจจัง​ “อ​มิตา​พุทธ​ ประเสริฐ​ๆ! ศิษย์​ ให้​ฝนตก​เถอะ​”

ต่อมา​มีฝน​กระหน่ำ​ลงมา​ท่ามกลาง​เสียง​ฟ้าผ่า​ดังสนั่น​ หยาดฝน​ตกลง​บน​แผ่นดิน​แห้งแล้ง​ ทำให้​ฝุ่น​ลอย​ขึ้น​ฟ้า กลิ่น​โอโซน​หลัง​ฟ้าแลบ​ผ่าน​ไป​อบอวล​เต็ม​มวลอากาศ​ ส่วน​ผู้คน​ต่าง​สูดกลิ่น​นี้​ด้วย​ความละโมบ​ สบาย​! เย็นสบาย​! ฟิน!​

เมฆดำ​แผ่​คลุม​กว้างขวาง​มาก​ ปกคลุม​ทุก​พื้นที่​ใน​หลาย​หมู่บ้าน​ใกล้เคียง​ ฝน​ตกหนัก​ลงมา​ ไม่รู้​ว่า​มีกี่​คน​วิ่ง​ไป​ฉลอง​บน​ถนน​ กระทั่ง​มีคน​เริ่ม​เสียงดัง​ว่า​จะไป​ซื้อ​สุรา​ ทำกับข้าว​ กิน​อาหาร​ดี​ๆ ตอนเย็น​สัก​มื้อ​เป็น​การเฉลิมฉลอง​

มีคน​ชอบ​ก็​มีคน​ทุกข์​

ห​ลี่​เจ๋อ​ นัก​อุตุนิยมวิทยา​จาก​สถานี​อุตุนิยมวิทยา​เป็นบ้า​แล้ว​ตอนนี้​ ตาม​สถิติ​ทั้งหมด​ หน้าแล้ง​หนัก​ครั้งนี้​อย่าง​น้อย​ต้อง​อยู่​ไป​อีก​ครึ่ง​เดือน​! ด้วยเหตุนี้​เขา​ถึงเขียน​รายงาน​ยาว​ถึงหมื่น​สามพัน​อักษร​ เบื้องบน​ก็​ให้ความสำคัญ​มาก​ ทำ​การประชุม​กัน​สามวัน​ หารือ​กัน​เรื่อง​แผน​รับมือ​ กระทั่ง​นายอำเภอ​ยัง​เริ่ม​ขอ​เงินช่วยเหลือ​จาก​เบื้องบน​ ก่อน​ทำการ​ขน​น้ำ​กัน​อย่าง​ครึกโครม​ใน​ฉับพลัน​ กำลังจะ​เริ่ม​ช่วยเหลือ​พวก​นา​ข้าว​อยู่แล้ว​ สรุป​ฝนตก​…

ห​ลี่​เจ๋อ​มอง​ไป​ยัง​ห้องทำงาน​หัวหน้า​พลาง​กลืนน้ำลาย​ ก่อน​กัดฟัน​เดิน​เข้าไป​

เพื่อนร่วมงาน​ข้างนอก​พลัน​ได้ยิน​เสียง​ตะโกน​เหมือนกับ​แผ่นดินไหว​ระดับ​สิบสอง​มาจาก​ข้างใน​…ได้​แต่​ส่ายหน้า​ไม่หยุด​

ถึงฝน​จะมาแล้ว​ แต่​ความ​แห้งแล้ง​ครั้งนี้​ส่งสัญญาณเตือน​กับ​ชาวบ้าน​ทั้งหมด​ หาก​ยัง​สูบน้ำ​ต่อไป​ ความ​แห้งแล้ง​ได้​กลับมา​อีก​ไม่ช้าก็เร็ว​ จะต้อง​เตรียมพร้อม​ล่วงหน้า​

ด้วยเหตุนี้​ ชาวบ้าน​ทั้งหมด​จึงจัด​ประชุม​ชาวบ้าน​ครั้ง​ใหญ่​ สุดท้าย​ทุกคน​ลงมติ​กัน​ว่า​จะยกเลิก​การ​ปลูก​นา​น้ำ​ ไม่สูบน้ำ​ตามอำเภอใจ​อีก​ แต่​จะปลูก​ป่าไผ่​กัน​อย่าง​สุดกำลัง​

ฟางเจิ้งยิ้ม​ตอนที่​ได้ยิน​ข่าว​นี้​ ก่อน​ใช้เวลา​หลาย​วัน​ช่วย​แม่ไผ่​หนาว​ขยาย​ราก​เข้าไป​ ถึงไผ่​หนาว​ตีนเขา​จะมีคุณภาพ​สู้บน​ยอดเขา​ไม่ได้​ แต่​ไผ่​หนาว​ที่​แย่​ที่สุด​กลับ​ดีกว่า​ไผ่​ที่​ขาย​ใน​ตลาด​ข้างนอก​ การ​สร้าง​ความ​ผาสุก​แก่​หมู่บ้าน​เอก​ดรรชนี​จึงไม่ยาก​

เมื่อ​ฝนตก​ลงมา​หลายครั้ง​ น้ำบาดาล​ได้รับ​การ​เติมเต็ม​อี​กรอบ​ ขณะเดียวกัน​ไผ่​หนาว​เติบโต​อย่าง​บ้าคลั่ง​ เริ่ม​ขยาย​พื้นที่​ พร้อมกัน​นั้น​ยังมี​นักท่องเที่ยว​จำนวนมาก​มาดู​ป่าไผ่​ กิน​หน่อไม้​ ช่างไม้ใน​หมู่บ้าน​ใช้ต้น​ไผ่​ทำเป็น​ของ​ประดับ​เล็ก​ๆ ไม่อยาก​เชื่อ​ว่า​มัน​จะขายดี​ผิดปกติ​! คน​มากมาย​ตามมา​เรียน​งานฝีมือ​

ถาน​จวี่กั๋ว​เชิญช่างชำนาญ​การ​สร้าง​ผลงาน​จาก​ต้นไม้​มา ให้​สอน​ทุกคน​สาน​เสื่อ​เย็น​ ทำ​สินค้า​จาก​ต้น​ไผ่​และ​ถ่าน​ไผ่​เป็นต้น​…ช่วง​เวลานี้​ชาวบ้าน​ทั้งหมด​ต่าง​พึ่งพา​ต้น​ไผ่​ ถึงทุกคน​จะเรียนรู้​ช้า แต่ต้น​ไผ่​เติบโต​เร็ว​ จึงเพียงพอ​ต่อ​การ​ใช้ของ​พวก​ชาวบ้าน​

ในเวลาเดียวกัน​หยาง​ผิง​แบ่ง​ป่าไผ่​ใน​หมู่บ้าน​ออก​เป็น​ระดับ​สาม หก​ เก้า​ ยิ่ง​ต้น​ไผ่​ห่าง​จาก​ภูเขา​เอก​ดรรชนี​มาก​เท่าไร​ก็​จะมีระดับ​ที่ต่ำ​มาก​เท่านั้น​ บน​ยอดเขา​คือ​ระดับ​สูงสุด​ สินค้า​จาก​ต้น​ไผ่​ที่​ทำ​ออกมา​จะสวย​ที่สุด​ สมบูรณ์แบบ​ที่สุด​ราวกับ​หยก​ ทั้ง​ยัง​ไม่เพียงพอ​ต่อ​ความต้องการ​ใน​ตลาด​! ราคา​เสื่อ​ไผ่​สูงไป​ถึงผืน​ละ​สามพัน​หยวน​!

ขณะนี้​ชาวบ้าน​ทั้ง​หมู่บ้าน​ตา​แดงก่ำ​ ทว่า​ทุกคน​เข้าใจ​ว่า​จะตัด​ไผ่​บน​เขา​ได้​ไม่กี่​ต้น​ เลย​ได้​แต่​ทำเป็น​ของ​ที่​ราคา​สูงสุด​และ​ดึงดูด​ลูกค้า​เข้ามา​ จะสร้าง​กำไร​จริงๆ​ ยัง​ต้อง​หวัง​พึ่ง​ไผ่​ตรง​ตีนเขา​…บางคน​ออก​ไป​เรียน​การ​ทำ​หน่อไม้​ดอง​กับ​คนอื่น​ บางคน​เรียน​การ​ทำกับข้าว​ต่างๆ​ จาก​หน่อไม้​ บางคน​ฝึก​ทักษะ​งานฝีมือ​อย่าง​หนัก​ ทั้ง​หมู่บ้าน​ใน​ตอนนี้​กระตือรือร้น​ขึ้น​ เล่นไพ่​น้อยลง​ เวลาว่าง​ๆ จะนั่ง​ยอง​คุย​กัน​บน​ถนน​ก็​น้อยลง​ ใน​ทาง​ตรงข้าม​กลับ​มีการหารือ​กัน​เรื่อง​งานฝีมือ​ต่างๆ​ มากขึ้น​

แต่​การเปลี่ยนแปลง​เหล่านี้​ใช้เวลา​ไป​เพียง​ครึ่ง​เดือน​เท่านั้น​…

ฟางเจิ้งมอง​การเปลี่ยนแปลง​ของ​ชาวบ้าน​ตรง​ตีนเขา​พลาง​รู้สึก​มีความสุข​ใน​ใจยิ่ง​ ไม่มีอะไร​มีความสุข​ไป​กว่า​คน​ข้าง​กาย​มีความสุข​แล้ว​ แน่นอน​คน​หมู่บ้าน​ใกล้เคียง​ต่าง​อิจฉา​ น่าเสียดาย​อิจฉา​ไป​ก็​ไม่ได้​อะไร​ ฟางเจิ้งอยาก​ช่วย​ก็​ช่วยไม่ได้​ ไผ่​หนาว​เติบโต​ถึงขีดจำกัด​แล้ว​ ราก​ขยาย​ไป​ไม่ได้​แล้ว​

วัน​เวลา​ผ่าน​ไป​ทีละ​วัน​ ฟางเจิ้งคำนวณ​เวลา​แล้ว​พบ​ว่า​พรุ่งนี้​จะมีฉลอง​เทศกาล​!

“เหล่า​ศิษย์​ พรุ่งนี้​วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​แล้ว​” ฟางเจิ้งพูด​ขึ้น​ขณะ​กินข้าว​

“อะไร​คือ​วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​?” หมาป่า​เดียวดาย​ ลิง​และ​กระรอก​ไม่เข้าใจ​เลย​ ใน​หัว​พวก​มัน​มีแต่วัน​ตรุษจีน​ที่​คึกคัก​ วันที่​สิบห้า​เดือนอ้าย​ที่​มีเปลวไฟ​เต็ม​ถนน​ รวมถึง​วัน​เช็งเม้งที่​เซ่นไหว้​บรรพบุรุษ​ด้วย​ความเศร้า​

ฟางเจิ้งยัง​ไม่ตอบ​ เด็กแดง​ส่ายหน้า​พลาง​ว่า​ “ข้า​เคย​บอก​พวก​ท่าน​แล้ว​ไงว่า​ถ้าว่าง​ก็​ให้​เรียนรู้​เยอะ​ๆ รู้จัก​อักษร​แค่​กี่​ตัวเอง​? เทศกาล​วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​ที่ว่า​คือ​วัน​เซ่นไหว้​วีรบุรุษ​เผ่า​มนุษย์​ท่าน​หนึ่ง​ แต่​นี่​ไม่ใช่สิ่งสำคัญ​ ที่​สำคัญ​คือ​ช่วง​วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​จะมีของเล่น​สนุก​ๆ ของกิน​อร่อย​ๆ เยอะ​มาก​ แข่ง​เรือหางยาว​ กิน​บ๊ะจ่าง​อะไร​พวก​นี้​…”

ฟางเจิ้งเขก​หัว​เด็กแดง​ไป​ที​หนึ่ง​ “อะไร​คือ​ไม่สำคัญ​? วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​เป็น​วัน​เซ่นไหว้​วิญญาณ​วีรชน​ ไม่มีอะไร​สำคัญ​กว่า​การ​เซ่นไหว้​และ​เรียนรู้​ความหมาย​ของ​บรรพบุรุษ​แล้ว​”

“อาจารย์​ ใน​เมื่อ​เป็นการ​เซ่นไหว้​ ทำไม​ถึงยังมี​แข่ง​เรือ​มังกร​ กิน​บ๊ะจ่าง​? ทำไม​ไม่เหมือน​วัน​เช็งเม้ง?” กระรอก​ถามด้วย​ความสงสัย​

ฟางเจิ้งตอบ​ “ถ้าจะพูด​คง​ยาว​ วัน​ไหว้​บ๊ะจ่าง​เรียก​อีก​อย่างว่า​ ‘ฉงอู่​(重五)’ ‘ฉงอู่​(重午)’ เป็นต้น​ ที่​ต่างกัน​จะมีประเพณี​ต่างกัน​ไป​ด้วย​ แรกเริ่ม​สุด​มีต้นกำเนิด​มาจาก​ถิ่น​ก๊ก​อู่​เย​วี่ย​ ทุก​วันที่​ห้า​เดือน​ห้า​ คน​ท้องถิ่น​จะใช้รูปแบบ​การ​แข่ง​เรือ​มังกร​จัด​เป็น​ประเพณี​การ​เซ่นไหว้​สัญลักษณ์​ประจำ​เผ่า​ อีก​ทั้ง​คนโบราณ​ชอบ​ใช้คำ​ว่า​ตวน​นำหน้า​ห้า​วัน​แรก​ของ​ทุก​เดือน​ อย่างเช่น​ ตวน​อี​(หนึ่ง​) ตวน​เอ้อ​(สอง​) ตวน​ซาน​(สาม)เป็นต้น​

แดน​ก๊ก​อู่​เยวี่ย​คือ​ถิ่นกำเนิด​ของ​ชน​เผ่า​อู๋เยวี่ย​ ชน​เผ่า​อู๋เยวี่ย​เคารพ​มังกร​ มองว่า​ตน​นั้น​เป็น​ลูกหลาน​มังกร​ วาดภาพ​มังกร​เป็น​สัญลักษณ์​ประจำ​เผ่า​บน​เรือ​ มีความหมาย​ว่า​ขอให้​อยู่​เย็น​เป็นสุข​และ​เป็น​สิริมงคล​อะไร​พวก​นี้​ เล่าลือ​ว่า​ตอนนั้น​เวลา​ไป​เยี่ยมเยือน​ญาติพี่น้อง​กัน​จะใช้เรือ​จาก​ไม้ต้น​เดียว​ที่​วาดภาพ​มังกร​ใน​การ​เดินทาง​ไป​กลับ​ บางครั้ง​ก็​แข่ง​กัน​ว่า​ใคร​พาย​เร็ว​กว่า​กัน​ จึงค่อยๆ​ กลายเป็น​รูปแบบ​การเฉลิมฉลอง​อย่างหนึ่ง​ และ​ก็​เป็น​วิธี​การแสดง​ศักยภาพ​อย่างหนึ่ง​ด้วย​ นี่​คือ​ที่มา​ของ​เรือ​มังกร​ ต่อจากนั้น​…จาก​การเปลี่ยนแปลง​ยาวนาน​จึงกลายเป็น​การ​แข่ง​เรือ​มังกร​ใน​ปัจจุบัน​

ส่วน​กิน​บ๊ะจ่าง​ นั่น​เพราะว่า​ช่วง​สมัย​ชุนชิว​ แคว้น​ฉู่รบ​แพ้​ ชวี​หยวน​อุ้ม​ก้อนหิน​กระโดด​ลง​แม่น้ำ​มี่หลัว​เพื่อ​แสดงถึง​ความภักดี​ ต่อมา​เหล่า​ราชนิกุล​จึงเชื่อมโยง​ระหว่าง​เทศกาล​ไหว้​บ๊ะจ่าง​กับ​ชวี​หยวน​เข้าด้วยกัน​เพื่อ​ส่งเสริม​ความภักดี​นี้​ กลายเป็น​เทศกาล​รำลึกถึง​ชวี​หยวน​ พวก​ชาวบ้าน​จะนำ​บ๊ะจ่าง​ห่อ​ด้วย​ใบไม้​โยน​ลง​ไป​ใน​แม่น้ำ​เพื่อ​เซ่นไหว้​ชวี​หยวน​ และ​เป็นการ​ให้อาหาร​ปลา​กุ้ง​ หวัง​ว่า​ปลา​กุ้ง​กิน​บ๊ะจ่าง​อิ่ม​แล้​วจะ​ไม่ต้อง​กิน​เนื้อ​ของ​ชวี​หยวน​ นี่​ก็​เป็นการ​เซ่นไหว้​ คิดถึง​และ​เคารพ​อย่างหนึ่ง​ต่อ​ปัญญาชน​ผู้ภักดี​”

……………………

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด