Galactic Garbage Station หลังบ้านผมเป็นที่ทิ้งขยะ 835

Now you are reading Galactic Garbage Station หลังบ้านผมเป็นที่ทิ้งขยะ Chapter 835 at นิยาย นิยายออนไลน์ นิยายวาย นิยาย pdf OreNovel.Com.

GGS:บทที่ 835 อัจฉริยะ

 

มองเพียงแวบแรกนั้น ภาพเขียนของซูจิ้งนั้นดูสะเปะสะปะและกระจายกันไปไม่ต่อเนื่องราวกับว่าแค่ลองวาดหลายๆอย่างในหน้าเดียวกัน

และทั้งหมดล้วนแล้วแต่ไม่ได้ถูกวาดอย่างสมบูรณ์ ราวกับว่าถูกสั่งให้หยุดวาดกลางคัน

อย่างไรก็เติมเมื่อทุกคนได้มองดูใกล้ๆต่างก็ยิ่งตกตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่ทุกคนเห็นในตอนนี้เหมือนกับว่าซูจิ้งไม่ได้วาดรูปแต่อย่างใด มันราวกับว่าซูจิ้งกำลังฝึกเทคนิคการวาดภาพเขียนจีนแต่ละเทคนิคในทีเดียวมากกว่า

 

การวาดรูปภาพเขียนจีนนั้นตามหลักการก็คือการเข้าใจแก่นแท้แห่งการตวัดปลายพู่กันโดยศิลปินผู้สรรสร้างผลงานศิลป์แต่ละชิ้น หรือก็คือเทคนิคในการใช้พู่กันและหมึกรวมถึงการลงสีในบางชิ้นงาน

ในวงการภาพเขียนพู่กันจีนนี้เป็นที่รู้กันดีว่าภาพเขียนพู่กันจีนเป็นที่นิยมมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวน และยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง

นั่นย่อมหมายความว่าเทคนิคต่างๆในการวาดภาพเขียนพู่กันจีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

อย่างน้อยชาวจีนในตอนนี้ก็ถือว่าภาพเขียนพู่กันจีนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริงอีกอย่างหนึ่ง

สิ่งที่สำคัญในการวาดภาพเขียนพู่กันจีนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการแต้มหมึก ลากเส้น และลงสี

แต่ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุดนั้นมีอยู่สองส่วนได้แก่

ส่วนแรกการใช้พู่กัน หรือก็คือการลงลายเส้น ลายเส้นที่ว่านี้ก็คือการบังคับเส้นหมึกที่ลงได้ดั่งใจนึก หนา บาง

ส่วนที่สองก็ถือได้ว่าสำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือการใช้หมึก

การใช้หมึกที่ว่าก็คือการลงสีหมึกให้มีลักษณะเข้ม จาง การใช้หมึกเปียก หมึกแห้ง น้ำหนักหมึก

แม้แต่ชนิดของพู่กันที่ใช้ในหมึกแต่ละชนิดเองก็ถือได้ว่าอยู่ในเทคนิคกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน

จึงถือได้ว่าทั้งเทคนิคทั้งสองสายนี้ต้องมีการพัฒนาความคู่กันไป แต่นี่ก็เป็นเพียงการแบ่งกลุ่มใหญ่ๆเท่านั้น ซึ่งยังมีการแบ่งทคนิคแยกย่อยได้อีกมากมายหลากหลายแทบนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว

ตัวอย่างเช่นลักษณะขนของพู่กันจีน ขนพู่กันจีนแบ่งหลักๆได้สองแบบนั่นคือแบบที่มีขนพู่กันพุ่งแหลมตรงกลางกับแบบที่มีขนพู่กันเท่ากันทั้งระนาบ

แน่นอนว่าชนิดที่มีขนพู่กันทั้งระนาบยังมีอีกหลากหลายทั้งแบบทรงกลม สามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม ซึ่งขนพู่กันเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อลายเส้นที่ออกมาเช่นเดียวกัน

หากจะให้เล่ารายละเอียดว่ามีแต่ละชนิดมีผลต่อภาพยังไงละก็ สามารถอธิบายได้คร่าวๆว่าแปรงแต่ละชนิดนั้น

เมื่อจุ่มลงไปในหมึกแล้วนอกจากจะได้รายเส้นที่มีลักษณะแตกต่างๆกันแล้ว ความรู้สึกที่ส่งผ่านจากขนพู่กันมาสู่มือนั้นล้วนแล้วแต่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

บ้างก็ระสึกยุ่งเหยิง บ้างก็ละมุน บ้างก็ทำให้ตวัดลายเส้นได้เฉียบคม บ้างก็ทำให้ลายเส้นรู้สึกหนักแน่น

ถึงแม้จะบอกว่าเทคนิคที่ใช้จะขึ้นอยู่กับมุมของหัวพู่กันที่ลงเส้น แต่ยังไงเสียเทคนิคแต่ละอย่างล้วนเริ่มจากลักษณะหัวของพู่กันอยู่ดี

นอกจากนี้ลักษณะขนพู่กันยังมีแบบปัดหน้า ปัดหลัง หรือก็คือเป็นหัวพู่กันที่เหมาะกับลักษณะการลงเส้นของศิลปินแต่ละคน

แน่นอนว่าต่อให้ใช้เทคนิคเดียวกันแต่ลักษณะขนพู่กันแตกต่างกันย่อมทำให้ภาพที่ได้ออกมามีลายเส้นต่างกัน แถมยังส่งผลต่อความแห้งและความคมของเส้นด้วยเช่นกัน

 

นอกจากนี้การเลือกพู่กันนั้นยังส่งผลให้เกิดลักษณะของภาพเขียนพู่กันจีนที่เรียกว่า จูเฟิ่ง และ ซานเฟิ่ง

จูเฟิ่งนั้นเป็นงานภาพที่มีการใช้การจุ่มน้ำหมึกเพียงครั้งเดียวในการวาดภาพ

ภาพที่ได้นั้นจะให้ความรู้สึกมีมิติล้ำลึก ประหนึ่งดังมีของจริงอยู่ตรงหน้า

โดยทั่วไปแล้วมักจะวาดเป้าหมายหลักของภาพให้เสร็จและค่อยๆตกแต่งรูปภาพ

โดยอาศัยพู่กันที่แห้งลงจากการที่ใช้หมึกวาดภาพไปก่อนหน้าหมุนอย่างเร็วให้ขนแปรงสะบัดแผ่ออกจากตรงกลางแล้วหมุนหัวพู่กันบี้ไปบนกระดาษประหนึ่งดังนำกลีบดอกไม้มาจุ่มหมึกป้ายไปมา

นี่คือเทคนิคที่อาศัยความแห้งและความชื้นของน้ำหมึกในพู่กันสร้างภาพ จนทำให้เกิดมิติที่ซับซ้อนขึ้นมา

หากพูดถึงเทคนิคทั้งหลายทั้งมวลแล้ว ความเร็วในการตวัดพู่กันเองก็ถือได้ว่าเป็นเทคนิคที่ต้องใช้ทักษะชั้นสูงเช่นเดียวกันและนั่นก็ยิ่งเพิ่มคุณค่าของภาพๆนั้น

แต่สุดท้ายแล้วเทคนิคการวาดๆต่างๆที่ว่ามาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเทคนิคพื้นฐานทั้งสิ้น

การเข้าถึงแก่นแต่ละเทคนิคพวกนี้ได้ไม่ต้องถึงสี่ แค่เพียงหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นระดับปรมาจารย์ได้แล้ว

 

สำหรับงานภาพเขียนจีนโบราณแล้วยังมีเทคนิคการใช้หมึกหกลักษณะด้วยกันได้แก่ ดำ ใส เข้ม จาง แห้ง และเปียก

เทคนิคการใช้หมึกเหล่านี้ช่วยทำให้ภาพนั้นเกิดความล้ำลึก เสริมมิติ และเสริมสร้างความรู้สึกได้เช่นเดียวกับเทคนิคการใช้พู่กันเช่นเดียวกัน ดั่งคำกล่าวของจีนที่ว่า พู่กันคือกระดูก หมึกคือเลือดเนื้อ

นี่ยังไม่พูดถึงวิธีการใช้น้ำในการผสมในหมึกให้เกิดลักษณะห้าอย่างได้แก่ ข้นคลักเเหบแห้ง ข้นเหนียว ข้นดำพอประมาณ จางลง และจางจนแทบใส(สีถ่าน สีดำเข้ม สีดำ สีเทากลาง สีเท่าอ่อน) เหตุผลก็เพราะอายุของหมึกเองก็ส่งผลต่อคุณภาพของหมึกเช่นเดียวกัน

ถึงจะบอกกันว่าหมึกที่ดีที่สุดคือหมึกใหม่ แต่กับบางคนสามารถใช้หมึกเก่าได้อย่างทรงพลังก็มี

โดยอายุของหมึกสามารถแบ่งออกเป็น อ่อนวัย สดใหม่ อยู่กับตัวตน อ่อนล้า แห้งเหี่ยว

แต่ละช่วงอายุเองก็จะได้น้ำหมึกที่ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกันแบ่งออกเป็น แห้งกรัง แห้ง ชื้น เปียก และ แฉะ

สำหรับการใช้เทคนิคการใช้พู่กันและการใช้หมึกนี้จะอาศัยความรู้สึกที่ได้พวกนี้นำมาผสมกัน หรือก็คือนำคำในลักษณะแต่ละเทคนิคมาผสมกันจนเกิดเป็นภาพอันวิจิตร ดูเสมือนเป็นของจริงหรือที่เรียกว่าภาพดูมีชีวิต

 

วิธีการลงเส้นหมึกสำหรับงานเขียนพู่กันจีนนั้นมีอยู่ด้วยกันเจ็ดวิธีได้แก่ การลงเส้นแบบละเอียด(บาง) การลงเส้นเบา การลงเส้นหนัก การลงเส้นหนักและเบาผสมกัน การลงหมึกเปียก การลงไร่น้ำหนักสี และการกระจายน้ำหมึก

เหล่านี้เป็นเพียงวิธีการใช้น้ำหมึกระดับพื้นฐานเท่านั้น แน่นอนว่ามีวิธีการอื่นๆอีก

 

ด้วยเทคนิคที่ต้องเรียนรู้และจดจำมากมายขนาดนี้ทำให้กล่าวได้ว่าการวาดภาพเขียนพู่กันจีนนั้นถือได้ว่ายากที่จะเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างถ่องแท้

หากจะเรียนให้ถึงแก่นเพียงเทคนิคเดียวก็แถบจะใช้เวลาไปแล้วเกือบชั่วชีวิต

หากว่าอยากจะเรียนรู้เทคนิคได้ถึงแก่นแท้ทั้งหมดล่ะก็ ต่อให้ชั่วทั้งชีวิตก็สมควรจะไม่เพียงพอ

เอาจริงๆแค่เข้าใจถ่องแท้เพียงหนึ่งหรือสองเทคนิคก็เกินพอที่จะเป็นปรมาจารย์ได้แล้ว

ต่อให้อัจฉริยะแค่ไหนเต็มที่ก็ควรจะเรียนติดต่อกันได้ไม่เกินสองปีก็สมควรจะยอมแพ้แล้ว

แต่ในตอนนี้ซูจิ้งได้กระทำการใช้เทคนิคทุกอย่างที่เขาได้เรียนรู้มาเมื่อสักครู่บวกกับเทคนิคต่างๆที่เขาได้เรียนรู้มาจากอินเทอร์เน็ต นำมาทดลองวาดภาพเขียนที่อยู่ตรงหน้า

 

โดยปกติแล้วสำหรับคนที่เริ่มเรียนรู้ แต่กลับกระหายในความรู้และต้องการเรียนรู้อย่างรวดเร็วอย่างซูจิ้งนั้น เชิงกูยี่ก็เคยเห็นมาไม่น้อยแล้วละสุดท้ายก็จับลงที่ความล้มเหลว

ในตอนแรกเชิงกู่ยี่เองคิดผิดหวังไปก่อนแล้วว่าซูจิ้งนั้นสมควรจะไม่สามารถเรียนรู้อะไรไปได้เลย

แต่เมื่อเขานั้นได้เห็นซูจิ้งในตอนนี้ที่ดูเหมือนเขาเองก็เพิ่งจะเริ่มวาดภาพเขียนพู่กันจีนแบบจริงจังเป็นครั้งแรกเลยด้วยซ้ำ

ในตอนแรกถึงแม้ภาพของซูจิ้งมันออกจะดูสะเปะสะปะไปบ้าง แต่เมื่อซูจิ้งเล่มวาดรูปที่สองในกระดาษแผ่นเดียวกันเห็นได้ชัดว่าดีขี้นกว่าครั้งแรก เมื่อเขาหยุดและไปเริ่มวาดรูปที่สามก็ปรากฎว่าดีขึ้นกว่าครั้งที่สอง

และเมื่อเขาได้ทดลองใช้เทคนิคการใช้พู่กันจีนและเทคนิคการใช้น้ำหมึกไหนก็ตามจนถือได้ว่าสมบูรณ์แล้ว เขาก็จะเปลี่ยนไปใช้เทคนิคอื่นในทันทีและก็ได้ทำแบบเดียวกันไปเรื่อย

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมรูปที่ซูจิ้งวาดในตอนแรกนั้นดูสะเปะสะปะ แต่กลับแฝงไว้ด้วยการใช้เทคนิคอันลำลึก

แถมความเร็วในการวาดเองก็ถือได้ว่าเร็วจนน่ากลัวเสียด้วยซ้ำ เร็วจนสามารถบอกได้เลยว่าความสามารถในการเรียนรู้การใช้เทคนิคและการวาดภาพเขียนพู่กันจีนของเขานั้นน่าสะพรึงกลัวต่อคนอื่น แต่เป็นเรื่องกล้วยๆสำหรับเขา

“พระเจ้า… นี่ฉันตาฝาดไปรึเปล่า นี่มันการกระจายหมึก(เกลี่ยหมึก) นี่เขาเรียนรู้มันได้จริงๆอย่างนั้นเหรอเนี่ย”

“พวกเราได้ใช้เวลาเรียนรู้เทคนิคพวกนี้มานานมากแล้วแต่ก็ยังทำไม่ได้ดีเลยซักอย่าง แต่เขาเพียงแค่ลองใช้เพียงสองสามรูปก็เข้าใจได้สมบูรณ์แล้ว”

“นั่น ดูนั่นสิ รูปภูเขาครึ่งลูกที่เขาเพิ่งจะวาดไปนั้นน่ะ มันสวยงามขนาดนั้นได้ยังไง นี่คือฝีมือของคนที่พึ่งจะเริ่มหัดเรียนจริงๆอย่างนั้นหรอ”

“ไม่ใช่ว่าเขานั้นเป็นระดับปรมาจารย์ภาพเขียนพู่กันจีนอยู่แล้วหรอ แล้วเขามาที่นี่เพียงเพื่อแกล้งหลอกให้พวกเราดูถูกเขาเล่นรึเปล่า”

ทุกคนที่ดูอยู่ในตอนนี้ต่างก็รู้สึกว่าซูจิ้งไม่ใช่คนที่พึ่งจะเริ่มเรียนแต่กลับเป็นปรมาจารย์ด้านการวาดภาพพู่กันจีนอยู่แล้ว เขาสมควรเข้ามาที่นี่เพื่อทำให้ทุกคนตื่นตะลึงเท่านั้นเอง

หากไม่ใช่ละก็ก็ไม่มีทางที่จะมีใครสามารถเรียนรู้เทคนิคต่างๆในการวาดภาพเขียนพู่กันจีนได้เร็วขนาดนี้

หากเป็นเรื่องจริงล่ะก็ ซูจิ้งก็สมควรจะเป็นสัตว์ประหลาดในคราบมนุษย์อย่างแน่นอน

เชิงชิเหยาและจูหยันนั้นรู้สึกประหลาดใจต่อภาพของซูจิ้งอย่างมาก

ฮวงจิงฮงนั้นในตอนนี้เขานั้นขมวดคิ้วเล็กน้อย พลางคิดไปว่าซูจิ้งนั้นมีดีด้านอีกอยู่หลายอย่างแล้ว

หากเขาจะมีฝีมือด้านการวาดภาพพู่กันจีนอยู่บ้างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ระดับความสามารถของซูจิ้งในการเขียนภาพพู่กันจีนที่เขาเห็นอยู่ในตอนนี้ทำให้ฮวงจิงฮงเจ็บปวดอย่างมาก

เพราะต่อให้ซูจิ้งมีพรสวรรค์ในการเรียนรู้ในระดับฟ้าประทานซักแค่ไหน เขาก็ไม่ควรที่จะเรียนรู้เทคนิคได้ด้วยการหัดใช้เพียงสองสามครั้งก็สมบูรณ์

หากจะคิดว่าซูจิ้งนั้นเป็นปรมาจารย์ด้านการวาดภาพเขียนพู่กันจีนอยู่แล้วก็สมควรจะล้มล้างสถิติที่เขาวาดภาพเขียนพู่กันจีนมาทั้งชีวิตได้เพียงช่วงไม่กี่นาทีแบบนี้

 

เชิงกูยี่ในตอนนี้ก็ถึงกับตกตะลึงอยู่ไม่น้อย แต่เขานั้นเชื่อซูจิ้งได้อย่างสนิทในว่าซูจิ้งนั้นเพียงพึ่งจะเริ่มการเรียนรู้การวาดภาพพู่กันจีนเท่านั้น

นั่นก็เพราะเขาสังเกตุเห็นว่าตอนที่ซูจิ้งวาดรูปแต่ละรูปออกมาโดยใช้แต่ละเทคนิคนั้น เมื่อเขาพบปัญหาซูจิ้งจะหยุดเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำหมึกอย่างเปล่าประโยชน์ ก่อนจะหันมาสอบถามกับเชิงกูยี่ทุกครั้ง

เมื่อเขาเข้าใจแล้วก็จะเริ่มวาดใหม่ในทันที มันเหมือนกับว่าซูจิ้งนั้นเป็นผู้หลงใหลในการวาดภาพเขียนพู่กันจีนอย่างแท้จริง แต่ขาดเพียงผู้ประสิทธิประสานความรู้ต่างๆที่เขามีอยู่เท่านั้นเอง

เชิงกู่ยี่ในตอนนี้มีความรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมาอย่างสุดหัวใจ เขาเองก็ได้รู้จักเหล่าผู้คนที่เรียกได้ว่าอัจฉริยะมามากมาย แต่ในครั้งนี้เขาได้พบกับอัจริยะในหมู่สุดยอดอัจฉริยะ ที่สุดแสนจะหายากในอัจฉริยะบุคคลทั้งหลายที่เขาเคยพบหรือเคยได้ยินมา

 

เอาจริงๆซูจิ้งนั้นก็ไม่ได้อัจฉริยะมาจากไหนหรอก เพียงแต่เขานั้นมีความสามารถที่หลากหลายและอยู่ในระดับเหนือกว่าคนทั่วไปในโลกนี้เท่านั้นเอง

 

ถ้าจะให้พูดว่าเขานั้นมีความสามารถอะไรบ้าง

 

อย่างแรก ซูจิ้งเป็นปรมาจารย์ด้านการเขียนอักษรจีนอยู่แล้ว และแน่นอนว่าถึงแม้พู่กันและน้ำหมึกที่ใช้ในงานศิลป์ทั้งสองอย่างนี้จะต่างกันอยู่

แต่ยังไงแล้วก็ยังถือว่าคล้ายกันอยู่ดี แน่นอนว่าเขานั้นย่อมคุ้นเคยกับการใช้น้ำหมึกและพู่กันไปโดยปริยาย

 

อย่างที่สอง ซูจิ้งนั้นมีสุดยอดความทรงจำและกระบวนการคิดที่เหนือล้ำกว่าคนทั่วไป

เขานั้นสามารถเป็นปรมาจารย์ในแต่ละด้านได้โดยเริ่มจากการที่เขานั้นสามารถจำรายละเอียดของสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ได้อย่างกระจ่างแจ้ง

เมื่อเขานั้นได้ลงมือทำ หรือสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 ไปครั้งหนึ่งแล้ว เขานั้นจะไม่มีทางลืมมันได้เลย

จึงบอกได้เลยว่าเขานั้นมีความรู้แทบจะในทุกแขนงอยู่แล้ว เพียงแต่อาจต้องมีการเคาะสนิมเพื่อให้รื้อฟื้นความรู้สึกให้เข้ารูปเข้าลอยก่อนสักเล็กน้อยก็พอ

เขาจึงกล้าบอกออกมาได้อย่างเต็มปากว่าเขานั้นเป็นมือใหม่อย่างแท้จริง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ได้รู้อะไรเลย

 

อย่างที่สาม ซูจิ้งนั้นมีสภาพร่างกายที่เหนือล้ำกว่าใครๆ เขานั้นมีสายตาขนาด 0.1 มีมือที่มั่นคง และจิตใจที่สงบ

ต่อให้เขาต้องการเขียนอะไรก็ตามที่เล็กมากขนาดไมครอน(อนุภาพ 10-6เมตร) เขาก็สามารถเขียนได้อย่างสบายๆ

ยิ่งไปกว่านั้นด้วยการที่เขานั้นได้เรียนรู้การบ่มเพาะพลังวิญญาณ(พลังศักดิ์สิทธิ์) ทำให้เขานั้นสร้างภาพต่างๆขึ้นมาภายในจิตใต้สำนึก

นี่ทำให้เขานั้นสามารถวาดภาพเขียนเหล่านี้ได้ราวกับกำลังนั่งมองของจริงอยู่นั่นเอง

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ทำให้ระดับในการเรียนรู้ของซูจิ้งนั้นเหนือล้ำกว่าใครๆ ต่อให้เป็นอัจฉริยะถ้ากล้าเข้ามาลองเชิงเขาละก็เหมือนกับรนหาที่เท่านั้นเอง

Comments

การแสดงความเห็นถูกปิด